โครงสร้างและการทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์
โครงสร้างและฟังก์ชันการทำงาน
• โครงสร้างคอมพิวเตอร์ หมายถึงส่วนประกอบสำคัญต่างๆที่นำมาสร้างเป็นคอมพิวเตอร์
• ฟังก์ชัน (Function) คือ การปฏิบัติงานของแต่ละส่วนในโครงสร้าง ดังนั้นแต่ละส่วนในโครงสร้างก็จะมีฟังก์ชันหน้าที่การทำงานของตน
ฟังก์ชันการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์
โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ
The Central Processing Unit (CPU)
CPU ทำหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ และการประมวลผลข้อมูล
The Central Processing Unit (CPU)
หน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลาง มีดังต่อไปนี้
อ่านและแปลคำสั่งที่เขียนไว้ในโปรแกรม
ประมวลผลตามคำสั่งที่เขียนไว้ในโปรแกรม
รับส่งข้อมูลโดยติดต่อกับหน่วยความจำภายในเครื่อง
ติดต่อรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้ โดยผ่านหน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงผล
ย้ายข้อมูลและคำสั่งจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง
องค์ประกอบของ CPU
CPU ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักดังนี้ :
The Central Processing Unit (CPU)
หน่วยประมวลผลกลางจะประกอบด้วย 2 หน่วยย่อยๆ คือ
1.หน่วยควบคุม (Control Unit)
2.หน่วยคำนวณ/ตรรกะ (ALU – Arithmetic and Logic Unit)
Control Unit
มีหน้าที่ในการสั่งงานและประสานงานการดำเนินการทั้งหมดของระบบ ดังนี้
ติดต่อสื่อสารกับ ALU และหน่วยความจำหลัก
ตัดสินใจในการนำข่าวสารเข้าและออกจากหน่วยความจำหลัก
กำหนดเส้นทางการส่งข่าวสารจากหน่วยความจำไปยัง ALU และจาก ALU ไปยังหน่วยความจำหลัก
มีหน่วยที่ทำหน้าที่ในการถอดรหัสว่าจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไร
ควบคุมการถอดรหัสให้เป็นไปตามขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา
Arithmetic and Logic Unit
ประกอบด้วยวงจรทางไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ
1.การดำเนินงานเชิงเลขคณิต (Arithmetic Operation) ทำหน้าที่ในการคำนวณ อันได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร
2.การดำเนินงานเชิงตรรกวิทยา (Logical Operation) ทำหน้าที่ในการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล โดยมีการทดสอบตามเงื่อนไข มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ หรือไม่เท่ากับ เงื่อนไขทางตรรกะเช่น AND, OR, NOT ซึ่งการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์จะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการเปรียบเทียบนั้น
รีจิสเตอร์ (Register)
เป็นหน่วยความจำชั่วคราวความเร็วสูง ที่ใช้ในการเก็บคำสั่งและข้อมูลสำหรับการประมวลผลภายใน CPU
Data held temporarily in registers can be accessed at greater speeds than data stored in memory
รีจิสเตอร์ (Registers)
รีจีสเตอร์ (Registers)
รีจิสเตอร์ จะอยู่ภายในหน่วยประมวลผลกลางและจะถูกจัดการและควบคุมโดยหน่วยควบคุม (Control Unit) ซึ่งจะใช้เป็นแหล่งเก็บข้อมูลและคำสั่งภายในโปรแกรมที่จะถูกนำมาประมวลผล โดยทั่วไปแล้วรีจิสเตอร์จะแบ่งออกได้หลายแบบตามหน้าที่ของรีจิสเตอร์แต่ละตัว
1.Instruction Register - เก็บส่วนของคำสั่งโปรแกรม
2.Address Register - เก็บส่วน แอดเดรส ของคำสั่งโปรแกรม
3.Storage Register - เก็บข้อมูลที่โอนย้ายมาจาก RAM
4.Accumulator - เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลชั่วคราว
ชนิดของรีจิสเตอร์
ใช้เก็บข้อมูลที่จะทำการประมวลผลในทันที ได้แก่
1.Program Counter (PC) ใช้เก็บตำแหน่งของคำสั่งถัดไป
2.Instruction Register (IR) เก็บคำสั่ง ที่โหลดมาจากหน่วยความจำ (เก็บคำสั่งปัจจุบัน)
3.Memory Address Register (MAR) เก็บตำแหน่ง ข้อมูลที่จะอ่านเขียนหน่วยความจำ
4.Memory Buffer Register (MBR) เก็บข้อมูลที่จะอ่านหรือเขียนลงหน่วยความจำ
5.Accumulator (AC) เก็บ ผลลัพธ์จากการประมวลผลชั่วคราว
5.การติดตั้งwindowsและโปรแกรมเฉพาะทาง
การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดค่ะ
วิธีการติดตั้ง Window ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง
ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นค่ะ
การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable
กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยค่ะ
เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น